ภาษา
ส่วนใหญ่ทั่วไปก็จะใช้ภาษากลางในการสื่อสารกัน
แต่จะมีบางคำที่ฟังไปแล้วแปร่งไปบ้าง มักจะมีคำลงท้ายว่าหนึ่งเสมอ เช่น “อันหนึ่ง” “สตางค์หนึ่ง” จะถูกตัดคำให้สั้นลงและคำสุดท้ายจะออกเสียงสูงกว่าปกติ
เช่น
ไม่มีสักอันหนึ่ง จะพูดว่า
ไม่มีสักอั๋น
ไม่มีสักสตางค์หนึ่ง จะพูดว่า ไม่มีสักตั๋ง
ไม่มีสักสตางค์หนึ่ง จะพูดว่า ไม่มีสักตั๋ง
และนอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่คนพิจิตรในบางท้องถิ่น พูดสำเนียงแปร่งแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นไปบ้าง เช่น คำว่า
เสือ ออกเสียงเป็น สื่อ
ขา ออกเสียงเป็น ข่า
หก ออกเสียงเป็น ฮก
และมีคำบางคำเสียงไม่แปร่ง แต่ออกเสียงต่างกันไป เช่น
เรียก เป็น เอิ้น
สะอาด เป็น เอี่ยม
สว่าง เป็น แจ้ง
และยังมีคำพูดพูดบางคำที่คนจังหวัดพิจิตร ในบางท้องที่ยังใช้ในชีวิตประจำวันสำเนียงจะไปทางสุโขทัย
ภาษาเขียน ภาษาพูด คำแปล
แป๊ปเดียว ไปปี๊ดเดียว ไปไหน
อิจฉา เหนียน อิจฉา
ผ้าซิ่น ผ้าถุง
อาหาร
รูปภาพจาก https://areeya9056.wordpress.com/สภาพทางสังคม/การแต่งกาย-ภาษา
ชาวจังหวัดพิจิตรโดยทั่วไป
กินอาหารเหมือนกับชาวไทยในภาคกลาง คือ รับประทานข้าวเจ้าเป็นพื้น
แม้ชนกลุ่มน้อยที่เป็นคนลาวจากจังหวัดต่างๆ
ที่มาอยู่ที่พิจิตรก็นิยมรับประทานข้าวเจ้าแทนข้าวเหนียว
ความสามารถในด้านโภชนาการหรือการประกอบอาหารสำหรับชีวิตประจำวันของชาวพิจิตร
คล้ายคลึงกับจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคกลางทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลจาก https://areeya9056.wordpress.com/สภาพทางสังคม/การแต่งกาย-ภาษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น