วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร


อำเภอตะพานหิน ถิ่นชะอมไร้หนาม งามหลวงพ่อโต งานประเพณีกำฟ้า ทอผ้าป่าแดง

รูปภาพจาก http://www.roseinnhotel.com/


อำเภอตะพานหินตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ เหตุที่ได้ชื่อว่า "ตะพานหิน" นั้นก็เนื่องมาจากบริเวณเหนือตลาดตะพานหินขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตร มีหินดานอยู่กลางแม่น้ำน่านโดยยื่นออกมาจากฝั่งตะวันออกและยาวขวางแม่น้ำจนเกือบถึงฝั่งตะวันตกเหลือช่องว่างน้ำลึกเพียงเล็กน้อยพอที่เรือจะแล่นผ่านได้ เท่านั้นด้วยลักษณะคล้ายสะพานที่เป็นหินนี่เองจึงเรียกหมู่บ้านนี้มาตั้งแต่เดิมว่า(บ้านหัวดานหรือบ้านตะพานหิน) ในอดีตฤดูแล้งตอนน้ำลดจะสามารถมองเห็นหินดานดังกล่าวได้แต่ปัจจุบันไม่สามารถมองเห็นได้อีกแล้ว เพราะเมื่อปี พ.ศ 2530 กรมเจ้าท่ากระทรวงคมนาคมได้ก่อสร้างท่าเรือขึ้นที่อำเภอตะพานหินและต้องการให้เรือบรรทุกสินค้าผ่านได้สะดวกจึงได้ขุดลอกแม่น้ำน่านและได้ระเบิดหินดังกล่าวออกไปบ้านหัวดานหรือตะพานหิน ขึ้นกับตำบลห้วยเกตุ อำเภอท่าหลวง(อำเภอเมืองพิจิตรปัจจุบัน ) ได้รับการยกฐานะเป็นตำบลตะพานหินเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2479 ต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้นมีความเจริญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตะพานหินเมื่อวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2483 ที่ว่าการอำเภอตะพานหินตั้งอยู่ระหว่างถนน เทศบาล 1และถนนแดงทองดี ในเขตเทศบาลเมืองตะพานหินห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ 28 กิโลเมตรมีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 468.930 ตารางกิโลเมตร โดยมีกลุ่มชาติพันธ์หลัก คือ ไทยพื้นถิ่น, ไทยเชื้อสายจีน, ลาวพวน

ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอตะพานหิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น